ข่าว /

คณะกรรมธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน และคณะ เข้าศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับระบบกำจัดขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานแบบครบวงจร และเยี่ยมชมโรงงานผลิตพลังงานจากขยะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คณะกรรมธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน และคณะ เข้าศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับระบบกำจัดขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานแบบครบวงจร และเยี่ยมชมโรงงานผลิตพลังงานจากขยะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ประธานคณะกรรมธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน และคณะ
เข้าศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับระบบกำจัดขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานแบบครบวงจร
และเยี่ยมชมโรงงานผลิตพลังงานจากขยะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 
 
 
ในการนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ประสาท สืบค้าอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 
พร้อมผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมโรงงานผลิตพลังงานจากขยะของมหาวิทยาลัย
 
 
พร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้อำนวยการเทคโนธานี และหัวหน้าทีมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานแบบครบวงจร 
บรรยายสรุปภาพรวมโครงการฯ ถึงผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 
จนถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการกำจัดขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 
ผ่านการวิจัยและพัฒนาทุกมิติทั้งในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม สามารถแข่งขันกับเทคโนโลยีกับต่างประเทศได้อย่างภาคภูมิใจ
 
 
 
เทคโนโลยีการกำจัดขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานแบบครบวงจรนี้ ประกอบด้วย 3 เทคโนโลยีหลัก
เริ่มจากเทคโนโลยีการจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF และปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้วิธีทางกลและชีวภาพ (SUT-MBT) ซึ่งสามารถผลิตเชื้อเพลิง RDF คุณภาพสูง
 
 
 
 
การเปลี่ยนเชื้อเพลิง RDF เป็นพลังงาน จะมี 2 เทคโนโลยี 
คือ เทคโนโลยีไพโรไลซีส ซึ่งแปรรูปเชื้อเพลิง RDF 
ที่ส่วนใหญเป็นพลาสติกค่าความร้อนสูง (6,700 kcal/kg) เปลี่ยนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง 
สำหรับเชื้อเพลิง RDF ที่มีค่าความร้อนต่ำกว่าและมีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวมวล 
จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วยเทคโนโลยีพลาสม่าแก๊สซิฟิเคชั่น 
 
ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2558 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ให้ทุนสนับสนุน 
โครงการนำร่องการจัดการขยะชุมชนแบบกระจายศูนย์ โดยจะทำการก่อสร้างระบบจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF
และปุ๋ยอินทรีย์ ขนาด 25 ตัน/วัน 4 อปท. รวมเป็นปริมาณขยะรวม 100 ตัน/วัน เพื่อผลิตเชื้อเพลิง RDF ป้อนเข้าสู่โรงผลิตน้ำมันจากเชื้อเพลิง RDF ขนาด 20,000 ลิตร/วัน 
และโรงไฟฟ้าพลาสม่าแก๊สซิฟิเคชัน ขนาด 1 MW ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งจะเป็นต้นแบบนำร่องการจัดการขยะชุมชนแบบกระจายศูนย์ นำมาแก้ไขปัญหาขยะที่เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในขณะนี้
 
  

Share

ประชาสัมพันธ์

ข่าว