ระบบบำบัดขยะด้วยวิธีเชิงกลและชีวภาพ MBT /

เทคโนโลยีการจัดการขยะแบบครบวงจร (Integrated Solid Waste Management : ISWM)

        ขยะมูลฝอยเป็นสิ่งเหลือใช้จากกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์และจำเป็นต้องได้รับการกำจัดอย่างถูกสุขวิธี หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการจัดการจะทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา แนวทางการแก้ไขปัญหาจึงต้องมีการบริหารจัดการขยะชุมชุนให้เกิดขึ้นอย่างครบวงจรและเป็นรูปธรรม ทั้ง การคัดแยก การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่โดยแปรรูปรูปขยะให้เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง (RDF: Refuse Derived Fuel) อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประเด็นที่สำคัญที่สุด โดยต้องเน้นที่ชุมชนหรือท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการได้เอง และสำคัญที่สุดต้องสร้างเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทนจากขยะที่มีประสิทธิภาพสูง มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และขณะเดียวกันต้องมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างความพร้อมของประเทศไทยในการพัฒนาเทคโนโลยีผลิตพลังงานทดแทนที่มีประสิทธิภาพได้เองในประทศ เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต
        ขยะมูลฝอยในประเทศไทยมีความชื้นสูงมาก โดยเฉลี่ยร้อยละ 50-58 ซึ่งถือเป็นจุดด้อยของการนำขยะมาใช้ประโยชน์ในรูปพลังงานโดยใช้เทคโนโลยีทางความร้อน (Thermal conversion technology) ดังกล่าว รูปแบบการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากขยะในอนาคตนั้นจะเป็นเทคโนโลยีการจัดการแบบผสมผสาน หรือเทคโนโลยีการจัดการขยะแบบครบวงจร (Integrated Solid Waste Management : ISWM) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำจัดขยะและลดปริมาณขยะที่เข้าสู่ระบบกำจัดขั้นสุดท้าย (Sanitary Landfill) มากที่สุด มีการผลิตพลังงานเป็นผลพลอยได้ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตพลังงานหลากหลายรูปแบบ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ (Biological Technology) ร่วมกับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าความร้อน (Thermal Technology) โดยสามารถผลิตเชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบที่มีความเหมาะสมเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบผลิตพลังงานแต่ละประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบเดิม กับ เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (ISWM)

ภาพรวมของเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (ISWM)

รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร กับปริมาณขยะมูลฝอยขนาดต่างๆ

ปริมาณขยะ (ตัน/วัน) จำแนก
ขนาดชุมชน
รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร
< 5 ขนาดเล็กมาก  MSW => MBT => RDF-3 =>
 Centralized Systems (ศูนย์กลางการรับซื้อเชื้อเพลิง RDF)
5-10 ขนาดเล็ก  MSW => MBT => RDF-3  =>
 Centralized Systems (ศูนย์กลางการรับซื้อเชื้อเพลิง RDF)
10-50 ขนาดปานกลาง  MSW => MBT => RDF-3  => โรงงานอุตสาหกรรม
 MSW => MBT => RDF-3  => แปรรูป RDF 4 ณ โรงงานอุตสาหกรรม
 MSW => MBT => RDF-3  => RDF4 => RDF-5 => โรงงานอุตสาหกรรม
50-100 ขนาดใหญ่  MSW => MBT => RDF-3  => โรงงานอุตสาหกรรม
 MSW => MBT => RDF-3  => แปรรูป RDF 4 ณ โรงงานอุตสาหกรรม
 MSW => MBT => RDF-3  => RDF4 => RDF-5 => โรงงานอุตสาหกรรม
 MSW => MBT => RDF-3 => Pyrolysis Plant เพื่อผลิตน้ำมัน + การผลิตไฟฟ้า
> 100 ขนาดใหญ่มาก  MSW => MBT => RDF-3  => โรงงานอุตสาหกรรม
 MSW => MBT => RDF-3  => แปรรูป RDF- 4 ณ โรงงานอุตสาหกรรม
 MSW => MBT => RDF-3  => RDF4 => RDF-5 => โรงงานอุตสาหกรรม
 MSW => MBT => RDF-3 => Pyrolysis Plant เพื่อผลิตน้ำมัน + การผลิตไฟฟ้า

 หมายเหตุ : โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ใช้เชื้อเพลิง RDF  เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล / เชื้อเพลิงร่วม เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ 

คำอธิบายสัญลักษณ์ต่างๆ

สัญลักษณ์ ความหมาย
 MSW Municipal solid waste(ขยะมูลฝอยชุมชน)
 MBT ระบบบำบัดขยะมูลฝอย ด้วยวิธีทางกลและชีวภาพ ผลผลิต คือ ปุ๋ยอินทรีย์ และ เชื้อเพลิงขยะ RDF-3
RDF-3 Refuse Derive Fuel เกรด 3 - เชื้อเพลิงขยะพลาสติกที่ยังไม่ได้สับย่อย และไม่ได้อัดแท่ง นำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อผลิตไอน้ำและความร้อนร่วม และการผลิตน้ำมัน ด้วยกระบวนการ Pyrolysis
RDF-4 Refuse Derive Fuel เกรด 4 - เชื้อเพลิงขยะพลาสติกที่สับย่อยละเอียด
แต่ยังไม่อัดเป็นแท่ง สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในระบบเผาไหม้ เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ เพื่อผลิตไอน้ำและความร้อนร่วม
RDF-5 Refuse Derive Fuel เกรด 5 - เชื้อเพลิงขยะพลาสติกที่ ผ่านกระบวนการอัดแท่ง สามารถนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อผลิตไอน้ำและความร้อนร่วม ข้อดี มีความหนาแน่นสูง ขนส่งได้ปริมาณมาก
 Pyrolysis  Oil Plant โรงงานผลิตน้ำมัน จากพลาสติก โดยใช้กระบวนการเผาไหม้แบบอับอากาศ  (Pyrolysis process) ได้ผลผลิตคือน้ำมันเกรดน้ำมันเตา
RDF-6 Refuse Derive Fuel เกรด 6 - เชื้อเพลิงขยะ ที่แปรรูปเป็นเชื้อเพลิงเหลว โดยใช้กระบวนการ Pyrolysis  process  โดย RDF-6 นี้ สามารถนำไปผลิตเป็นน้ำมันพาณิชย์ หรือนำไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
Refinery plant โรงงานกลั่นน้ำมัน โดยนำน้ำมันจากจาก Pyrolysis  Oil Plant หรือ RDF-6  เข้าสู่กระบวนการกลั่นเป็นน้ำมันเกรดพาณิชย์ (ดีเซล, เบนซิน)

 

ข้อมูลสนับสนุนต่างๆ
1. ข้อมูลเทคโนโลยีการบำบัดขยะโดยวิธีทางกลและชีวภาพ (MBT, Mechanical and Biological Waste Treatment)ข้อมูลเบื้องต้น
        เทคโนยีการการบำบัดขยะด้วยวิธีการแบบเชิงกล-ชีวภาพ (MBT, Mechanical and Biological Waste Treatment) ซึ่งเป็นอีกเทคโนโลยีที่สามารถปรับเสถียรภาพของขยะมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยขบวนการทางชีววิทยาของแบคทีเรียในการย่อยสลายอินทรียวัตถุที่มีอยู่ในขยะมูลฝอย ด้วยอาศัยแอโรบิคแบคทีเรีย (Aerobic Bacteria) ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมในด้านความชื้น อุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจน รวมทั้งสัดส่วนระหว่างคาร์บอนและไนโตรเจน ร่วมกับการพลิกกลับกองด้วยเทคนิคเชิงกล
        ทั้งนี้การบำบัดขยะมูลฝอยด้วยวิธี MBT ที่พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จะทำให้สามารถลดระยะเวลาในการหมักเหลือเพียง 1 เดือน โดยอาศัยเทคโนโลยีการกลับกองขยะด้วยสกรูในแนวตั้ง (Vertical Agitators) ซึ่งจะทำให้กองขยะที่อยู่ทางด้านล่างมีโอกาสสัมผัสกับอากาศได้มากขึ้น ทำให้เกิดกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพได้ดีขึ้น และยังป้องกันการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนทางด้านล่างของกองขยะที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น คุณสมบัติของขยะที่ผ่านกรรมวิธีการบำบัดโดยวิธี MBT จะมีน้ำหนักลดลงประมาณร้อยละ 65 และมีความชื้นเฉลี่ยที่ร้อยละ 20 โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่ที่เหลือจะเป็นขยะจำพวกพลาสติกประมาณ ร้อยละ 80 ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะ RDF (Refuse-derive Fuel) และเศษที่เหลือคืออินทรียวัตถุ หรือปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปริมาณคาร์บอนสูง สามารถนำไปใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้ ซึ่งเป็นรูปแบบของการบริหารจัดการขยะชุมชุนแบบครบวงจรและเป็นรูปธรรม ทั้ง การคัดแยก การกำจัด และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

1.1 รายละเอียดเทคโนโลยี
        แนวคิดในการออกแบบกระบวนการบำบัดขยะด้วยวิธีการแบบเชิงกล-ชีวภาพ (MBT, Mechanical and Biological Waste Treatment) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีความแตกต่างกับเทคโนโลยีอื่น คือ ดำเนินการปรับสภาพของขยะโดยวิธีการหมัก (ทางชีวภาพ) ก่อนทำการคัดแยก (ทางกล) โดยจะทำการแยกขยะออกจากถุงบรรจุและคัดแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้เช่น กระป๋องอลูมิเนียม ขวดแก้ว และ พลาสติก รวมถึงเศษเหล็ก ออกก่อนโดยใช้แรงงานคนบนสายพานคัดแยก (Hand Sort Conveyer) ขยะที่ผ่านการคัดแยกแล้วจะถูกนำไปย่อยหยาบโดยใช้เครื่องสับ โดยใช้เครื่องสับแบบ Hammer Mill เพื่อลดปริมาตรให้เหมาะต่อการจัดการ ขยะที่ถูกฉีกนี้จะถูกลำเลียงเข้าสู่โรงบำบัดทางกลและชีวภาพ (Mechanical and Biological Treatment) รวมกันทั้งขยะอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร และขยะอนินทรีย์ เช่น ถุงพลาสติก เศษกระดาษ เพื่อปรับเสถียรภาพของขยะให้เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้ โรงบำบัดทางกลและชีวภาพ (Mechanical and Biological Treatment) ถูกออกแบบให้เป็นโรงปิดที่มีระบบกวน ทำหน้าที่ผสมและเติมอากาศ ทำให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายสูง ทำให้ระยะเวลาการย่อยสลายเร็ว ทั้งนี้ ประมาณ 1 เดือน การหมักจะสิ้นสุดลงและขยะมีเสถียรภาพปราศจากกลิ่น และทำการคัดแยกโดยใช้เครื่องคัดแยกแบบตะแกรงหมุน (Trommel Separator) จะได้ส่วนประกอบ คือ 1) อินทรีย์สารผงละเอียด (ปุ๋ยอินทรีย์) ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเป็นวัสดุปรับปรุงดิน 2) อินทรีย์สารผสมพลาสติก และ พลาสติก หรือเชื้อเพลิง RDF ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถนำไปทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิสในภาคอุตสาหกรรมได้ รายละเอียดเทคโนโลยี ดังแสดงไว้ในตารางต่อไปนี้

1.2 ข้อมูล Reference plant (การขยายผลงานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี)
   1 โครงการก่อสร้างเทคโนโลยีการบำบัดขยะมูลฝอยด้วยวิธี MBT และเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงขยะ RDF บริษัทปูนซีเมนต์ไทย แก่งคอย จำกัด
        เนื่องจากจังหวัดสระบุรีได้เล็งเห็นถึงปัญหาด้านการจัดการขยะ โดยแต่เดิมนั้นทางจังหวัดสระบุรีได้มีการจัดการขยะด้วยวิธีการฝังกลบแต่ในภายหลังได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกัน ไม่ให้น้ำเสียจากขยะไหลลงสู่แหล่งน้ำ จึงทำให้ทางจังหวัดสระบุรีมีความสนใจในเทคโนโลยี MBT (Mechanical and Biological Treatment) หรือเทคโนโลยีการหมักแบบ Composting Plant ร่วมกับการใช้เครื่องจักรในหน่วยต่างๆ ที่เหมาะสม จากกระบวนการนี้ทำให้ได้ขยะที่เสถียรเนื่องจากกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศ ในระยะเวลาเพียง 20-30 วัน ดังกล่าว ช่วยลดปัญหาเรื่องกลิ่น และสามารถลดความชื้นของขยะชุมชนเหลือไม่เกิน 30% โดยเทคโนโลยี MBT นี้สามารถรองรับขยะชุมชนปริมาณ 5 ตัน/วัน ผลิต RDF ไปทดแทนเชื้อเพลิงถ่านหินในโรงงานปูนซีเมนต์ได้

 การขยายผลเทคโนโลยีการจัดการขยะแบบครบวงจร บริษัทปูนซิเมนต์ไทย แก่งคอย จำกัด

    2 โครงการบริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจร พื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
        รองรับขยะมูลฝอยปริมาณ 10 ตัน/วัน ผลิตปุ๋ยอินทรีย์และRDF โดยในปีงบประมาณ 2555 มหาวิทยาลัยฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำผังแม่บทการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยขึ้นเพื่อทำการศึกษารูปแบบการจัดการขยะที่เหมาะสมของมหาวิทยาลัย โดยคัดเลือกเทคโนโลยีการจัดการมูลฝอยแบบเชิงกล-ชีวภาพ ( MBT : Mechanical and Biological Treatment ) หรือ เทคโนโลยีการหมัก (Composting) เพื่อทำการยุบกองขยะและลดกลิ่น โดยหลังจากการหมักจะได้ผลผลิต คือ ปุ๋ยอินทรีย์ และเชื้อเพลิงพลาสติก (RDF) ปุ๋ยอินทรีย์จะนำไปใช้งานด้านภูมิทัศน์ ส่วนเชื้อเพลิงพลาสติกจะนำไปขายเพื่อเป็นรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยต่อไป โดยศูนย์คัดแยกขยะแห่งใหม่นี้ สามารถรองรับการจัดการมูลฝอยทั้งมหาวิทยาลัยรวมถึงมูลฝอยทั่วไปจากศูนย์ปฏิบัติการทางแพทย์ สามารถรองรับการกำจัดได้สูงสุด 10 ตันต่อวัน ภายใต้การดำเนินการออกแบบระบบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ และควบคุมการดำเนินการก่อสร้างโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ขยะชุมชนจากกระบวนการหมักในระบบ MBT จะส่งเข้าสู่เครื่องคัดแยกแบบตะแกรงหมุน ได้ส่วนประกอบ คือ 1) อินทรีย์สารผงละเอียด สามารถนำไปใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน 2) ขยะพลาสติก หรือเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel :RDF) โดย RDF-3 สามารถนำไปทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิสในโรงงานอุตสาหกรรมได้ หรือนำมาผลิตเป็น RDF-4 ด้วยเครื่องจับก้อน (Agglomerator Machine) เพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงงานผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกด้วยระบบ ไพโรไลซีส (Pyrolysis Oil Plant) 3) มูลฝอยเหลือทิ้ง (Waste Reject) เป็นอินทรีย์สารผสมพลาสติก ถูกนำไปกำจัดควบคู่กับการผลิตพลังงาน โดยใช้ระบบเผาไหม้ขั้นสูงด้วยเทคโนโลยีพลาสมาแกสซิฟิเคชั่น (Plasma Gasification)

ต้นแบบเทคโนโลยีที่ทำการปรับสภาพขยะโดยวิธีการบำบัดทางกลและชีวภาพเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์และเชื้อเพลิงขยะ
(ศูนย์จัดการขยะแบบครบวงจร เพื่อรองรับขยะ 10 ตัน/วัน ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)

     3 โครงการก่อสร้างเทคโนโลยีการบำบัดขยะมูลฝอยด้วยวิธี MBT เทศบาลตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
          เนื่องด้วยสำนักงานเทศบาลตำบลท่าวังผา ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการขยะในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ เป็นรูปแบบการจัดการขยะใหม่ที่จะทำให้เกิดการลดลงของพื้นที่ฝังกลบขยะ และทำให้การจัดการขยะโดยรวมดีมากขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในการจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีแผนการดำเนินงานและมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการขยะชุมชนอย่างครบวงจร ตั้งแต่การคัดแยก การกำจัด และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยชุมชนเข้ามาบริหารจัดการด้วยตนเอง และเทคโนโลยี MBT สามารถรองรับขยะชุมชนปริมาณ 5 ตัน/วัน ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และ RDF ได้


การขยายผลเทคโนโลยีการจัดการขยะแบบครบวงจร เทศบาลตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

    4 โครงการบริหารจัดการขยะชุมชน พื้นที่ตำบลเกาะยาวน้อย
        สืบเนื่องจากศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคใต้ ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพังงา ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ในเรื่อง “การบริหารจัดการขยะและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษวัสดุเหลือใช้” องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อยมีความสนใจเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยด้วยวิธีการแบบเชิงกลและชีวภาพ (MBT, Mechanical and Biological Waste Treatment) พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ประกอบกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญของโครงการว่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่ชุมชนและสามารถต่อยอดนำไปเป็นต้นแบบ ในการนำเทคโนโลยีของไทยไปบริหารจัดการกำจัดขยะในจังหวัดพังงาและจังหวัดอื่นๆ จึงได้ดำเนินการลงนามความร่วมมือ ระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ผลักดันให้เกิด “โครงการบริหารจัดการขยะชุมชนพื้นที่เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา”

โครงการบริหารจัดการขยะชุมชน พื้นที่ตำบลเกาะยาวน้อย

    5. โครงการศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะและการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF)
        สืบเนื่องจากนโยบายการบริหารจัดการขยะในชุมชนของภาครัฐภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ได้มีการกำหนดให้มีการจัดการขยะในรูปแบบของการใช่ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมุ่งเน้นให้มีระบบการจัดการขยะแบบครบวงจร ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการเกิดขยะจนถึงการกำจัดขั้นสุดท้าย โดยระบบการบริหารจัดการนั้นจะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน และประชาชน จังหวัดปทุมธานีนั้นมีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 1,285 ตัน/วัน ซึ่งได้มีการดำเนินการกำจัดนอกเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานีประมาณ 318-324 ตัน/วัน และในเขตพื้นที่ประมาณ 742-771 ตัน/วัน วิธีการกำจัดส่วนใหญ่จะใช้วิธีการฝังกลบ จากข้อมูลในปี พ.ศ.2548 และปี พ.ศ.2442 พบว่าอัตราเกิดขยะเพิ่มสูงขึ้นจาก 1 กก. ต่อคนต่อวัน เป็นถึง 1.34 ต่อคนต่อวัน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุมาจากการมีประชากรแฝงในจังหวัดปทุมธานีเป็นจำนวนมาก และสาเหตุแนวโน้มการใช้ชีวิตของประชากรในจังหวัดปทุมธานีมีลักษณะของชุมชนในเขตเมืองมากกว่าชนบท จึงทำให้อัตราการเกิดขยะสูงขึ้นตามลำดับ ทางสำนักงานพลังงานจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางด้านพลังงานได้เล็งเห็นถึงปัญหาขยะดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการจัดการขยะที่ติดตั้งภายในศูนย์ขนถ่ายขยะเทศบาลนครรังสิต ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2556 ให้มีระบบสมบูรณ์ครบถ้วน และสามารถรองรับการจัดการขยะมูลฝอยขนาด 5 ตันต่อวัน

  

โครงการศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะและการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) จังหวัดปทุมธานี