ประชาสัมพันธ์ /

โครงการจ้างเหมาเก็บขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ประเภทหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้า ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตพื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมา

โครงการจ้างเหมาเก็บขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ประเภทหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้า ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตพื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมา

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) กระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในการป้องกันการแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 2019) จังหวัดนครราชสีมา ได้มีประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา กำหนดให้ประชาขนทุกคนในจังหวัดต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกคน และได้ออกมาตรการเร่งด่วนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการรณรงค์ให้ประชาชนคัดแยกขยะ ทิ้งหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้า โดยแยกใส่ถุงต่างหากจากถุงขยะประเภทอื่น และจัดให้มีถังขยะสีแดงไว้ในที่สาธารณะหรือจุดรวบรวมขยะ รวมทั้งกำจัดขยะหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้า ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545

 

 

 

เพื่อเป็นการรองรับสถานการณ์การระบาด และดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วนของกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนสนับสนุนการจัดการวิกฤติในครั้งนี้ ทางศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีวมวล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจึงได้จัดการมูลฝอยติดเชื้อ โดยการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ประเภทหน้ากากอนามัย หน้ากากผ้าและอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อที่ใช้แล้ว ในเขตพื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งมีจุดเก็บขนและจุดวางถังขยะติดเชื้อ จำนวน 500 ถัง

 

โดยมีโครงการต้นแบบในการกำจัดขยะติดเชื้อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งใช้เทคโนโลยี Plasma Gasification ชนิด Fixed-bed Downdraft Gasification โดยทำการป้อนเชื้อเพลิงทางด้านบน และใช้หลักการเผาไหม้ที่ควบคุมปริมาณอากาศ  ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งทำให้เกิดแก๊สเชื้อเพลิง (Producer Gas) โดยเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง จะถูกเปลี่ยนเป็นแก๊สที่มีองค์ประกอบ คือ แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) แก๊สไฮโดรเจน (H2) และแก๊สมีเทน (CH4)  มีค่าความร้อนเฉลี่ย 4.5-5.5 MJ/m3 สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม หรือแก๊สธรรมชาติได้ โดยแก๊สที่ผลิตได้ เมื่อนำมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดและลดอุณหภูมิแล้ว จะสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในที่เป็นต้นกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดยมีส่วนประกอบหลัก 4 ส่วนคือ 1) ส่วนรองรับเชื้อเพลิงขยะติดเชื้อ 2) ชุดเตาปฏิกรณ์และระบบทำความสะอาดแก๊ส 3) ระบบบำบัดน้ำเสีย และ 4) ห้องควบคุมการทำงาน


 


 


Share

ประชาสัมพันธ์

ข่าว