การผลิตชีวมวลอัดแท่ง /

เทคโนโลยีการแปรรูปเชื้อเพลิงเพื่อผลิตเป็นพลังงาน (การผลิตชีวมวลอัดแท่ง)

เทคโนโลยีการแปรรูปเชื้อเพลิงเพื่อผลิตเป็นพลังงาน (การผลิตชีวมวลอัดแท่ง)       

 

 ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีวมวล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) มีความตระหนักถึงการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนการใช้พลังงานในระดับประเทศและระดับโลก จึงได้ริเริ่มพัฒนางานวิจัยด้านพลังงานทางเลือกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 งานวิจัยกลุ่มหนึ่งที่มีสำคัญ คือ งานวิจัยกลุ่มแปรรูปชีวมวล โดยทางศูนย์ฯได้มีการศึกษาเทคโนโลยีการเก็บรวมรวมและแปรรูปเชื้อเพลิงไม่เชิงพานิชย์ อันได้แก่ เชื้อเพลิงที่ยังไม่มีการค้าขายกันในเชิงการค้า เช่น ทางปาล์ม เหง้ามันสำประหลัง ต้น/เปลือก/ซังข้าวโพดบนพื้นที่สูง เปลือกไม้ยูคาลิปตัส และอื่นๆ เชื้อเพลิงเหล่านี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์เนื่องปัญหาต้นทุนในการเก็บรวมรวบสูง ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงยังไม่นิยมนำมาใช้ ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
        งานวิจัยกลุ่มแปรรูปชีวมวล ของศูนย์ฯ มีการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการแปรรูปเชื้อเพลิงชีวมวลแต่ละชนิดให้สามารถใช้งานได้จริงในเชิงพานิชย์ ได้แก่ ต้นแบบเครื่องอบแห้งแบบโรตารี่ ใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากเตาผลิตแก๊สเชื้อเพลิง ใช้สำหรับงานอบแห้งเชื้อเพลิงทั่วไปที่มีความชื้นสูง เช่น เปลือกไม้ยูคาลิปตัส เหง้ามันสำปะหลัง ไม้สับ และอื่นๆ ต้นแบบโรงงานแปรรูปเชื้อเพลิงอัดแท่งตะเกียบแบบพาหะลม ประกอบไปด้วย ระบบสับย่อย ระบบอบแห้ง และระบบอัดแท่งตะเกียบ ใช้แหล่งความร้อนจากไอเสียหม้อต้มไอน้ำสำหรับอบแห้ง นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีการแปรรูป ประเภทอื่น ๆ เช่น เครื่องสับแบบ Chipper เครื่องสับแบบ Hammer mill เครื่องอัดแท่ง

          การนำเชื้อเพลิงชีวมวลที่กระจัดกระจายอยู่ใน ไร่ นา สวนเกษตร มาใช้งานนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาครอบคลุม ทั้งทางด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ (สมบัติทางกายภาพ สมบัติทางเคมี สมบัติทางด้านเชื้อเพลิง) ด้านการรวบรวมและการแปรรูป ด้านการขนส่ง อันประกอบกันเป็นระบบที่เรียกว่า ระบบการจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล อันนำไปสู่การกำหนดมาตรฐาน และราคาเชื้อเพลิงชีวมวล เกิดธุรกิจหรือตลาดซื้อ-ขายเชื้อเพลิงชีวมวล สำหรับใช้ในการผลิตไฟฟ้าและความร้อน ให้มีสัดส่วนการใช้ตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้

 

ภาพประกอบ

Brochure