สืบเนื่องจากวิกฤตพลังงานโลก ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวในการพัฒนาพลังงานทดแทนจากแหล่งต่างๆ เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตการณ์ให้น้อยที่สุด ประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นหลัก พบว่ากว่าร้อยละ 60 ของความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นมาจากการนำเข้า โดยในปี 2556 มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบมีสัดส่วนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 75 ของมูลค่าการนำเข้าพลังงานทั้งหมด (ศูนย์พยากรณ์และสารสนเทศพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, 2556) และยังมีแนวโน้มจะสูงขึ้นอีกเพราะไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตปิโตรเลียมในประเทศได้ทันกับความต้องการใช้งาน การพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างจริงจังจะช่วยลดการพึ่งพาและการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
กระทรวงพลังงาน ได้จัดทำแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือ Alternative Energy Development Plan (AEDP) เพื่อเป็นการกำหนดกรอบและทิศทางการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้ได้อย่างน้อย ร้อยละ 25 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของทั้งประเทศใน 10 ปี (พ.ศ.2555 – 2564) โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดค่าใช้จ่ายการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าที่มากเกินไป และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานหนึ่งที่มีศักยภาพของประเทศไทยสามารถเป็นทางเลือกในการผลิตพลังงานทดแทนที่สำคัญ เนื่องจากไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม
สำหรับโครงการนำร่องเพื่อผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลในระดับชุมชน (ระยะที่ 2) ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และพร้อมที่จะลงทุนจัดสร้างระบบผลิตพลังงานจาก ชีวมวลด้วยเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น ตามเป้าหมาย ดังนี้
การสนับสนุนแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ระบบผลิตก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์เพื่อผลิตความร้อน และระบบผลิตก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์เพื่อผลิต ซึ่งทาง มทส. จะสนับสนุนเงินสำหรับการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์เพื่อผลิต...
ผู้มีสิทธิยื่นข้อเสนอ จะต้องเป็นสถานประกอบการพาณิชย์ และ/หรือ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีการใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) และผู้ที่มีศักยภาพในการจัดหาเชื้อเพลิงและผู้สนใจในการลงทุนเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาด...
1) โครงการที่ยื่นขอรับทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารของบริษัท
2) ผู้ประกอบการที่ยื่นข้อเสนอโครงการจะต้องแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของบริษัท และประวัติการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา หากมีผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปีที่ผ่านมาประกอบ จะมีส่วนสำคัญต่อการพิจารณา
3) ผู้ประกอบการที่ยื่นข้อเสนอโครงการ จะต้องชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ รวมทั้งควรระบุรายละเอียดของโครงการเบื้องต้น ตามแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการที่กำหนด
4) ต้องเป็นนิติบุคคลที่มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้ประกอบการไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51
ข้อเสนอที่สามารถยื่นขอรับการสนับสนุน ต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติขั้นต่ำ ดังนี้