เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล
การประเมินด้านความเหมาะสมของเทคโนโลยีจะถูกแบ่งย่อยการพิจารณาออกเป็น 5 หัวข้อย่อย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า (Plant Heat Rate) 2) ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี 3) ตรวจสอบความปลอดภัยในการเดินระบบฟ้า 4) ตรวจสอบความยากง่ายในการเดินระบบ และ 5) เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและแนวทางป้องกัน โดยมีเกณฑ์ในการประเมินในแต่ละหัวข้อดังตารางต่อไปนี้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล
ก. ประสิทธิภาพ (Efficiency)
ระดับคะแนน |
รายละเอียด |
4 |
มีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าในช่วง 26-30% |
3 |
มีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าในช่วง 21-25% |
2 |
มีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าในช่วง 16-20% |
1 |
มีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าน้อยกว่า 16% |
ข. ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี (Reliability)
ระดับคะแนน |
รายละเอียด |
4 |
มีการนำไปใช้งานจริงและมีการส่งเสริมใช้ใช้งานอย่างแพร่หลาย |
3 |
มีการนำไปใช้งานจริง |
2 |
อยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาต้นแบบ |
1 |
อยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย |
ค. ความปลอดภัย (Safety)
ระดับคะแนน |
รายละเอียด |
4 |
เป็นระบบแรงดันต่ำ |
3 |
เป็นระบบแรงดันสูง มีระบบป้องกัน มีระบบควบคุมความปลอดภัยอัตโนมัติ |
2 |
เป็นระบบแรงดันสูง มีระบบป้องกัน มีระบบควบคุมความปลอดภัย |
1 |
เป็นระบบแรงดันสูง มีระบบป้องกัน ไม่มีระบบควบคุม |
ง. ทักษะด้านเทคนิคของผู้ปฏิบัติการ (Operator Skill Requirement)
ระดับคะแนน |
รายละเอียด |
4 |
ใช้ผู้ปฏิบัติการที่มีทักษะน้อยหรือช่างเทคนิคทั่วไป |
3 |
ใช้ผู้ปฏิบัติการที่มีทักษะและใบประกอบวิชาชีพ |
2 |
ใช้ผู้ปฏิบัติการที่มีทักษะและประสบการณ์สูง |
1 |
ใช้ผู้ปฏิบัติการที่มีทักษะในระดับผู้เชี่ยวชาญ |
จ. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impacts)
ระดับคะแนน |
รายละเอียด |
4 |
ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม |
3 |
มีผลกระทบต่อคุณภาพแหล่งน้ำ อากาศ ในระดับน้อยในระดับที่จัดการได้ |
2 |
มีผลกระทบต่อคุณภาพแหล่งน้ำ อากาศ ระดับปานกลาง |
1 |
มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต |
0 |
มีผลกระทบด้านสุขภาพ |