การบริหารจัดการวัตถุดิบ
การบริหารและการจัดการของวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่โรงไฟฟ้ามีความจำเป็นเป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้มีการดำเนินโครงการที่มั่นคงและยั่งยืน ในการประเมินในหัวข้อนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ การประเมินการวางแผนด้านปริมาณเชื้อเพลิงเพื่อป้อนเข้าสู่โรงไฟฟ้า การประเมินความสามารถในการเข้าถึงเชื้อเพลิงโดยเน้นในเรื่องระยะทางระหว่างโรงไฟฟ้าและแหล่งเชื้อเพลิง การประเมินศักยภาพในเรื่องราคาของวัตถุดิบท่จะได้รับ และ การส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบอย่างยั่งยืน โดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้
ก. การบริหารด้านความมั่นคงของเชื้อเพลิง
ระดับคะแนน |
รายละเอียด |
2.5 |
มีสัดส่วนของวัตถุดิบภายในโรงงานมากกว่า 80 % |
2.0 |
มีสัดส่วนของวัตถุดิบภายในโรงงาน 50-79 % |
1.5 |
มีสัดส่วนของวัตถุดิบภายในโรงงานน้อยกว่า 50 % |
ข. ความยากง่ายในการเข้าถึงเชื้อเพลิง
ระดับคะแนน |
รายละเอียด |
2.5 |
ระยะทางระหว่างโรงไฟฟ้าและการเข้าถึงเชื้อเพลิง < 50 km |
2.0 |
ระยะทางระหว่างโรงไฟฟ้าและการเข้าถึงเชื้อเพลิง 50 - 100 km |
1.5 |
ระยะทางระหว่างโรงไฟฟ้าและการเข้าถึงเชื้อเพลิง 100-150 km |
1.0 |
ระยะทางระหว่างโรงไฟฟ้าและการเข้าถึงเชื้อเพลิง >150 km |
ค. ราคาเชื้อเพลิงที่เสนอ
ระดับคะแนน |
รายละเอียด |
2.5 |
มากกว่าราคากลางในท้องตลาดปัจจุบัน (800 บาท/ตัน ราคาหน้าโรงงาน) |
2.0 |
เท่ากับราคากลางในท้องตลาดปัจจุบัน (800 บาท/ตัน ราคาหน้าโรงงาน) |
1.5 |
น้อยกว่าราคากลางในท้องตลาดปัจจุบัน (800 บาท/ตัน ราคาหน้าโรงงาน) |
ง. การวางแผนการปลูกพืชพลังงานทดแทน
ระดับคะแนน |
รายละเอียด |
2.5 |
มากกว่าราคากลางในท้องตลาดปัจจุบัน (800 บาท/ตัน ราคาหน้าโรงงาน) |
2.0 |
เท่ากับราคากลางในท้องตลาดปัจจุบัน (800 บาท/ตัน ราคาหน้าโรงงาน) |
1.5 |
น้อยกว่าราคากลางในท้องตลาดปัจจุบัน (800 บาท/ตัน ราคาหน้าโรงงาน) |